วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

นกโพระดกหูเขียว

นกโพระดกหูเขียว
นกประจำถิ่นนานาชนิดจับคู่ผสมพันธุ์เพื่อให้ลูกนกฟักออกจากไข่ประจวบเหมาะกับช่วงที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ที่สุด ซึ่งก็คือช่วงฤดูฝน ช่วงเวลาของปีที่มีพืชพรรณ ผลไม้ และแมลง ชุกชุมที่สุด ลูกนกมากมายเติบโตเข้าสู่วัยที่พร้อมจะออกจากรังไปเรียนรู้ชีวิตในโลกกว้าง แต่ก็เป็นช่วงเวลานี้ของปีนี่เองที่มีลูกนกป่าถูกพรากจากพ่อแม่มันมาวางขายอย่างผิดกฎหมายกันเกลื่อนกลาดมากกว่าปกติ เป็นที่รู้กันว่าลูกนกในวัยหัดบินนี้มีโอกาสเลี้ยงแล้วรอดอยู่ หลายคนเห็นลูกนกวัยนี้ก็อยากซื้อมาเลี้ยงไว้ในครอบครอง บ้างซื้อมาด้วยความสงสาร แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ตราบใดที่มีคนซื้อ ธุรกิจมืดมูลค่ามหาศาลนี้ก็จะยังคงมีอยู่ต่อไป เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนนกป่าลดลง
นกสีสันสวยงาม ขนาดตัวไม่เล็กไม่ใหญ่ อย่างนกโพระดก (Barbet) เป็นหนึ่งในนกกลุ่มหลักๆที่ตกเป็นเหยื่อของธุรกิจเปื้อนเลือดนี้ อาจเพราะรังของพวกมันอยู่ในโพรงไม้ที่มักจะสังเกตเห็นได้ง่ายและอยู่ไม่สูงนัก

นกโพระดกที่พบบ่อยตามแหล่งขายสัตว์ผิดกฎหมาย ได้แก่ นกโพระดกธรรมดา(Lineated Barbet) และ นกโพระดกหูเขียว (Green-eared Barbet) คำว่า“หู”ในชื่อของมันหมายถึงขนคลุมหู (ear-covert) ซึ่งเป็นสีเขียว จัดเป็นนกโพระดกขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่สีสันไม่หลากหลายเท่านกโพระดกส่วนใหญ่ หัวของมันเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีลายขีดดำกระจายอยู่ทั่วไปทั้งหัวและอก หน้าตาละม้ายคล้ายกับนกโพระดกธรรมดาแต่มีขนาดเล็กกว่า ปากสีเงินแทน ปลายปากสีเทาเข้ม มีแถบสีดำคาดตา ข้างคอทั้งสองข้างมีแต้มสีแดง ม่านตาสีแดงเข้ม





ลำตัวสีเขียวช่วยพรางตัวของพวกมันในพุ่มไม้ได้เป็นอย่างดี นกโพระดกจะไต่ไปตามกิ่งไม้อย่างช้าๆ จิกกินลูกไม้ บางครั้งมันอาจจะเข้ามาจิกกินลูกไม้ใกล้ๆคนโดยไม่แสดงความหวาดกลัวเลย ปากที่ใหญ่โตเทอะทะนอกจากจะใช้เจาะโพรงไม้แล้ว ในช่วงเลี้ยงลูกยังช่วยให้มันสามารถจับแมลงตัวใหญ่ๆ เช่น ตั๊กแตน ได้อีกด้วย

เช่นเดียวกับนกกินผลไม้และนกโพระดกอื่นๆ ไม่ผิดถ้าจะพูดว่าพวกมันคือ“นักปลูกป่า” เพราะมันกระจายพันธุ์ต้นไม้ไปสู่สถานที่ห่างไกลได้ พบได้ตามป่าดิบ ป่าเบญจพรรณ ชายป่า ในระดับความสูงไม่เกิน 1,015 เมตรจากน้ำทะเล กระจายอยู่ทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคกลางและภาคใต้ นอกจากนี้ยังพบได้ในจีนตอนใต้ และเวียดนาม

ไม่ว่าจะสงสารนกที่ถูกจับมาขายแค่ไหน สิ่งที่ควรทำที่สุดคือต้องตัดใจไม่ซื้อ หากพบเห็นหรือทราบเบาะแสการค้านกป่า โทร.1362 แจ้งสายด่วนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือ โทร.1136 แจ้ง บก.ปทส. (กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)



จับตั๊กแตนตำข้าวหัวโล่ (Rhombodera basalis) กินเป็นอาหาร


กำลังกินตั๊กแตนกิ่งไม้

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นกกินปลา




นกกินปลา


                       โดยทั่วไปนกกินปลาบอกถึงสภาพลำน้ำที่อุดมสมบูรณ์ มีแหล่งหากินแหล่งอาศัยสำหรับปลา  มีน้ำสะอาดพอที่ปลาจะอยู่ได้ดี  และมีที่ให้นกเกาะและทำรังตามฝั่งน้ำ  อย่างไรก็ตามเนื่องจากปลาบางชนิดสามารถมนน้ำสกปรกได้  และสามารถอยู่ได้ในลำน้ำที่ถูกปรับเปลี่ยนทางสภาพทางธรรมชาติ  การปลากฎตัวของนกกินปลาจึงไม่ได้หมายถึงสภาพลำน้ำที่ยอดเยี่ยมเสมอไป  เพื่อพบนกกินปลาควรถือเป็นสัญญาณบอกสภาพล้ำน้ำเบื้องต้น  ก่อนจะทำการสืบสวนรายละเอียดในน้ำต่อไป
bird01a.gif นกกระเต็นน้อยธรรมดา
ลักษณะเด่น  ตัวอ้วนป้อมสีน้ำเงินอมเขียว  หลังสีฟ้าสด  ท้องสีส้ม  คอขาว  ขาแดง  ปากใหญ่แหลมยาวสีดำ
พฤติกรรม  มักมีที่เกาะประจำริมน้ำที่จะมองหาปาได้ถนัด  เมื่อเห็นปลาจะพุ่งหลาวไปงับปลาขึ้นมากินอย่างแม่นยำ  ทำรังริมตลิ่งดินหรืทรายที่ไม่มีหินมากนักโดยขุดโพรงเป็นรูลึกราว 60-90 ซม.จึงอยู่ไม้ได้ตามฝั่งน้ำฉาบคอนกรีต  กินปลาเป็นอาหารหลัก  แต่ก็กินสัตว์น้ำตัวเล็กๆ อื่นๆ

รูปแสดง
                                                                                                            นกกระเต็นน้อยธรรมดา

bird01b.gif นกกระเต็นอกขาว
ลักษณะเด่น  ปากใหญ่แหลมยาวสีแดง  หัวและท้องสีน้ำตาลแดง  คอและอกสีขาว  ส่วนหลังปีกและหางสีฟ้าสด  ขาสีแดง
พฤติกรรม  ชอบเกาะตามที่โล่งริมน้ำ  เพื่อกวาดตาหาเหยื่อ  ขุดโพรงรังริมตลิ่งเช่นเดียวกับนกกระเต็นอื่นๆ กินปลาขยาดใหญ่กว่าที่นกกระเต็นน้อยกิน  จึงไม่แย่งอาหารกันและกินสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย  บางครั้งพบห่างไกลจากแหล่งน้ำ  เพราะหาสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กและแมลงกิน

รูปแสดง

                                                                                                                 นกกระเต็นอกขาว
bird01b.gif นกน้ำเล็ก
ลักษณะเด่น  ตัวดำเหลือบ  ปากยาวปลายงุ้มสีน้ำตาล  ขาดำมีพังผืดระหว่างนิ้วตีน  ช่วยให้ว่ายน้ำได้ดี  ช่างผสมพันธุ์ขนหัวและคอจะเป็นเงาเหลือบขาว  เวลาบินยืดคอไปข้างหน้า
พฤติกรรม ดำน้ำจับปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ เป็นอาหาร  แล้วขึ้นมาเกาะกางปีกเพื่อผึ่งแดดให้แห้ง  เพราะไม่มีต่อมน้ำมันเคลือบกันขนเปียกอย่างเป็ด  มักพบเกาะเป็นฝูง  รังทำจากกิ่งไม้สานกันบนต้นไม้

รูปแสดง

                                                                                                              นกน้ำเล็่ก
bird01b.gif นกยางเขียว
ลักษณะเด่น  ตัวสีคล้ำคอและท้องสีเทา  ขนคลุมปีกสีเขียวอมน้ำตาล  ปากดำ  ขาสีส้ม
พฤติกรรม  จับปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ และแมลงเป็นอาหาร  โดยหากินเรียบริมตลิ่ง  ไม่ค่อยชอบเดินท่องน้ำเช่นนกยางอื่น  ทำรังเป็นฝูงใหญ่บนต้นไม้

รูปแสดง

                                                                                                            นกยางเขียว
bird01b.gif นกยางไฟหัวดำ
ลักษณะเด่น  กระหม่อมดำ  ตัวสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง  ขนเปียกด้านนอกและปลายหางดำ  เวลายืนเกาะจะมองเกือบไม่เห็นแต่เห็นชัดเจนเวลากางปีกบิน  ปากและขาสีเหลือง
พฤติกรรม  ชอบเกาะนิ่งๆ ซุ่มดักเหยื่อตามพงพืชริมน้ำ  ทำให้เห็นยาก  นอกจากเวลาโผบิน

รูปแสดง

                                                                                                         นกยางไฟหัวดำ
bird01b.gif นกยางไฟธรรมดา
ลักษณะเด่น  สีน้ำตาลแดงสดใสตัว  ทั้งเวลาเกาะและบิน  ปากและขาสีเหลืองมีแถบขีดขวางข้างคอ
พฤติกรรม  ชอบเกาะนิ่งๆ ซุ่มดักเหยื่อตามพงพืชดอกรูปริมน้ำ  โดยทำตัวลีบชูปากขึ้นตรง  จึงกลมกลืนดูคล้ายดอกธูปทำให้เห็นยาก  นอกจากเวลาโผบิน

รูปแสดง

                                                                                                             นกยางไฟธรรมดา
bird01b.gif นกยางเปีย
ลักษณะเด่น  ตัวสีขาวโพลน  คอและขาผอมยาวมาก  ต่างจากนกยางขาวอื่นๆ  ที่ปากดำ  ขาดำ  ตีนเหลือง  ช่วงผสมพันธุ์มีขนสองเส้นงอกยาวออกมาตรงท้ายทอยคล้ายหางเปีย  และมีขนงอกเป็นพู่ยาวบริเวณอกและหลัง
พฤติกรรม  กินปลาและสัตว์น้ำเล็กๆ เป็นอาหาร  โดยเดินย่ำตามท้องน้ำ  หรือใช้ตีนพุ้ยน้ำให้เหยื่อตกใจออกจากที่ซ่อนให้จับกิน

รูปแสดง

                                                                                                             นกยางเปีย
bird01b.gif นกยางควาย
ลักษณะเด่น  รูปร่างคล้ายนกยางเปียแต่คออวบใหญ่กว่า  ปากสีเหลือง  ขาและตีนดำ  ช่วงผสมพันธุ์  ขนบริเวณหัว  คอและหลังเปลี่ยนเป็นสีส้ม  บางครั้งขาเปลี่ยนเป็นสีแดง
พฤติกรรม  กินแมลงและสัตว์น้ำต่างๆ เป็นอาหาร  มักพบหากินรวมกับฝูงวัวควาย  เพื่อจับแมลงตามดินที่ควายย่ำพลิกขึ้นมา

รูปแสดง
                                                                                                             นกยางควาย

bird01b.gif นกกระสาแดง
ลักษณะเด่น  ตัวสีเทาอมม่วง คอและลำตัวด้านข้างสีน้ำตาลแดง มีเส้นดำขีดยาวลงมาตลอดลำคอด้านข้างและด้านหน้า กระหม่อมดำ มีเปียสองเส้นสีดำที่ท้ายทอย
พฤติกรรม  มักหากินตัวเดียวบริเวณพงพืชหรือริมน้ำตื้นๆ เมื่อเห็นปลาหรือสัตว์น้ำเล็กๆ จะชกพุ่งออกไปงับอย่างรวดเร็ว กินปลาได้หลายขนาด ตลอดจนกบ เขียดและงู

รูปแสดง
นกกระสาแดง

bird01b.gif นกยางกรอกพันธุ์จีน
ลักษณะเด่น  คอน้ำตาลอ่อนอมเทาและมีขีดสีน้ำตาลประกระจายทั่วตั้งแต่หัวถึงท้อง  หลังสีน้ำตาล  ดูกลมกลืนกับท้องทุ่ง  ยกเว้นเวลาบินจะเห็นปีกสีขาวโพลนตัดกับตัวสีคล้ำ  ช่วงผสมพันธุ์ขนบริเวณหัว  คอ  และหน้าอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม  หลังกลายเป็นสีดำ  และขาเป็นสีแสด
พฤติกรรม  ยืนนิ่งตามริมน้ำเพื่อรอจับสัตว์น้ำเล็กๆ

รูปแสดง
                                                                                                  นกยางกรอกพันธุ์จีน


bird01b.gif นกทึดทือพันธุ์เหนือ
ลักษณะเด่น  นกเค้าสีน้ำตาลขนาดใหญ่  มีแผงขนบนหัวยื่นออกด้านข้างคล้ายมีหูต่างจากนกเค้าประเภทอื่นตรงที่ไม่มีขนขึ้นปกคลุมตามขา  จึงไม่เปียกเวลาจับปลา
พฤติกรรม  บินโฉบจับปลาจากผิวน้ำ  ด้วยอุ้งตีน  หากินกลางคืน  บางครั้งพบใกล้แหล่งน้ำรอบหมู่บ้าน  แต่เห็นตัวได้ยาก

รูปแสดง
                                                                                                         นกทึดทือพันธุ์เหนือ

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นกทำรัง

นกทำรัง





คือเมื่อหลายเดือนก่อนมีนกเขามาทำรังที่เหนือหน้าต่างห้องนอนเราค่ะ
เป็นนกเขาชวา หน้าตาแบบนี้
 
 
เราเปิดหน้าต่างเอาไว้ แล้วจู่ๆ ก็มีนกเขาคู่หนึ่งมาเกาะตรงเหนือบานหน้าต่างที่เปิดอ้าไว้
ที่เดียวกับในภาพเลย
เกาะอยู่เงียบๆ...แต่ก็เงียบมากนะ มีร้องออกมาบ้าง
 
ก็สงสัยอยู่ว่ามันอาจจะหาที่ทำรัง และหวยคงมาลงที่หน้าต่างบ้านเราแหงๆ
ตอนนั้นเราก็มีขยับไปดูบ้าง
แต่แค่เราทำเสียงนิดหน่อย มันก็บินหนีแล้วค่ะ
แต่สักพัก มันก็มาเกาะอีก อยู่ยังงั้นเป็นวันเลยค่ะ
 
แล้วพอวันต่อมามันก็เริ่มเอากิ่งไม้มาวาง ตรงบานพับนี่แหละ
 
 
ถึงตรงนี้เราชักลังเล จะปล่อยให้มันทำรังดีไหมหว่า = =''
คือก็อยากรู้อยากเห็นนะ ไม่เคยเห็นนกทำรังใกล้ขนาดนี้มาก่อนแถมจะไล่ก็สงสาร
แต่ก็กลัวขี้นก แถมเราจะปิดหน้าต่างไม่ได้อีกด้วย
ตอนนั้นเป็นช่วงปลายฤดูหนาว เรานอนไม่เปิดแอร์มาหลายคืนแล้วก็จริง
แต่ก็ทำท่าจะร้อนแล้ว ถ้าปิดหน้าต่างไม่ได้ก็เปิดแอร์ไม่ได้ล่ะ
 
พอปรึกษาน้อง Mad ผู้รู้เรื่องนก
ก็ได้ความว่า ถ้าจะไล่ ก็จงไล่เสียตั้งแต่มันยังเพิ่งเริ่มเอากิ่งไม้มาวาง
ไม่ต้องห่วงว่ามันจะไม่มีที่ทำรัง เพราะนกพวกนี้หาที่ทำรังเก่ง เดี๋ยวมันก็หาใหม่ได้
 
ก็เลยลองไล่ไปรอบนึง
 
 
สุดท้ายเลยปล่อยให้มันทำรังไป ถือซะว่าได้ศึกษาใกล้ๆ
 
 
พอเวลาผ่านไป มันก็ออกไข่มาฟองหนึ่งค่ะ
 
 
ก็แอบสงสัย ว่านกเขานี่มันมีลูกโทนเรอะ! ถึงอกมาแค่ฟองเดียว
ซึ่งน้อง Mad (อีกแล้ว) ก็ช่วยเฉลยว่า
 
" มันออกทีละฟองครับ =w= แล้วค่อยกกทีเดียว"
 
แหม เพิ่งรู้นะเนี่ย 
ซึ่งก็ตามนั้น หลังจากนั้นลองส่องดูก็พบว่าเพิ่มมาอีกเป็นสองฟอง :D 
 
 
หลังจากนั้นเจ้านกเขาก็ผลัดกันกกไข่
จากที่ก่อนหน้านี้แค่เราขยับทำเสียงนิดหน่อยมันก็บินหนีแล้ว
แต่ตอนนี้ขนาดเราเปิดหน้าต่างมุ้งลวดออกไปถ่ายรูปมัน มันยังเฉย~  เลยค่ะ
แถมยังจ้องกลับด้วยนะ....
 
 
ดีนะไม่ยิ้มให้กล้องด้วย
 
ช่วงนี้มันจะมีอึออกมาด้วยค่ะ เป็นก้อนแข็งๆ
เราก็ต้องเปิดหน้าต่างไปกวาดออกบ่อยๆ = =''
 
แล้ววันหนึ่ง พอเราเปิดหน้าต่างไปจะกวาดอึมัน ก็เจอสิ่งนี้ค่ะ
 
 
 
มีเปลือกไข่ปริศนาตกอยู่ใต้รัง!
 
มองยังไงก็ไม่ใช่ไข่จิ้งจกอะ ไข่นกแน่ๆ เกิดอะไรขึ้นเนี่ย
น้อง Mad (เจ้าเก่า) ก็ช่วยตอบให้ ว่า
 
"ระยะฟักไข่ของนกเขาชวาอยู่ที่ประมาณ2สัปดาห์ครับ
ถ้าไม่มีตัวอะไรบุกรุกรังก็แสดงว่าลูกนกฟักแล้วแหละ owo "
 
ซึ่งจากที่เราเฝ้ามันอยู่ทุกวี่วัน ก็มั่นใจนะว่าไม่มีอะไรผิดปกติ
ตีความได้อย่างเดียวว่าคงฟักแล้วจริงๆ! ไวมาก!

ตอนนั้นแปลกใจมาก เพราะเห็นแม่นก(หรืออาจะเป็นพ่อนก) นั่งกกอยู่อย่างนั้น
ไม่มีทีท่าเหมือนว่าลูกนกฟักแล้วเลย
แต่นั่นก็เพราะว่า...
 
"ส่วนใหญ่แม่จะกกลูกจนกว่าขนจะขึ้นคลุมเต็มตัวก่อนนะครับ
รึไม่ถ้ามีไข่อีกฟองก็อาจจะยังไม่ฟักก็ได้ owo"
 
โอ้ อย่างนี้นี่เอง... 
 
 
ปฏิบัติการแอบส่องนกของเราก็ยังคงดำเนินต่อไป
แต่มันเริ่มจะมีปัญหาเล็กน้อย คือ...
 
...มันเริ่มเข้าหน้าร้อนแล้วค่ะ
 
อยากเปิดแอร์ก็ทำไม่ได้เพราะปิดหน้าต่างไม่ได้
เดี๋ยวรังนกร่วงหมด
 
แถม...ยังมีพายุฤดูร้อน ฝนเริ่มมา
ปิดหน้าต่างก็ไม่ได้ ฝนเลยสาดเต็มๆ
 
และนี่ก็ทำให้เราเห็นศักยภาพการหาที่ทำรังของนกเขา เพราะว่า...

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นกหัวขวัญ

นกหัวขวัญ






นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง






นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง

นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง : คอลัมน์นกป่าสัปดาห์ละตัว

                 เมื่อไม่นานมานี้สมาชิกชมรมโอเคเนเจอร์ (OK Nature) บางส่วนได้ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแม่เรวา ของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่จะต้องจมอยู่ใต้น้ำหากโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้รับอนุมัติให้มีการสร้างจริง ป่าในบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่มากนัก มีลำห้วยแม่เรวาซึ่งประกอบไปด้วยแก่งหิน และหาดทรายริมน้ำอันเป็นพื้นที่ที่ นกยูง (Green Peafowl) ใช้ในการเกี้ยวพาราสี พื้นที่นี้นับเป็นถิ่นอาศัยที่มีความสำคัญของสัตว์หายากหลายชนิด

การระวังรักษาอนามัยของลูกนก 

           เมื่อลูกนกแตกออกมาจากไข่ พ่อนกและแม่นกต่างก็ช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อนตามกฎของธรรมชาติ เมื่อลูกนกกินอาหารเข้าไปก็ย่อมมีการถ่ายของเสียออกมา ของเสียของลูกนกนั้นแปลกและแตกต่างจากพ่อแม่นก คือ มันถ่ายออกมาเป็นถุงขาวๆ แข็งแต่นิ่มเพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของรัง พ่อนก แม่นกจะคาบถุงนี้ออกมาจากก้นของลูกนกเลยทีเดียว แล้วนำออกไปทิ้งให้ห่างจากรัง แต่ก็มีบางครั้งที่พ่อนกและแม่นกจะกินถุงถ่ายเหล่านั้น ลูกนกจะถ่ายมากน้อย ขึ้นกับปริมาณอาหารที่ถูกป้อน ที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อลูกนกโตมากขึ้น พ่อแม่ก็จะคาบถุงถ่ายไปทิ้งน้อยลงไปตามลำดับ มีนกหลายชนิด เช่น นกการางหัวขวาน (hoopoes) นกหัวขวาน(wood pecker) ต่างๆ ซึ่งขุดรูทำรัง เป็นต้น มิได้คาบถุงถ่ายของลูกนกไปทิ้งนอกรัง คงปล่อยให้เลอะเทอะส่งกลิ่นเหม็น
           ตามปกติ ประชาชนในแถบบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเข้าใจกันว่า นกเงือกซึ่งทำรัง วางไข่ กกไข่ ในโพรงไม้นั้น ตัวผู้เป็นตัวกกไข่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ได้มีนักธรรมชาติวิทยาหลายคนสนใจกับข้อมูลอันนี้ ได้ทำการสำรวจอย่างละเอียด และได้พบความจริงว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนในถิ่นนี้ผิดไปอย่างสิ้นเชิง ความจริงแล้ว นักธรรมชาติวิทยาได้พบว่า นกเงือกตัวเมียเท่านั้นที่เข้าทำรัง วางไข่ กกไข่ โดยตัวเมียจะเข้าไปนั่งอยู่ในโพรงไม้ โดยการเจาะโพรงไม้เป็นรูก่อนวางไข่ ๒-๓ วัน แล้วปิดปากโพรงด้วยขี้ของมันเอง ผสมด้วยขุยไม้ที่นกพยายามขุดโดยใช้ปากและเท้า ออกมาจากต้นไม้ขี้ของนกชนิดนี้จะเหนียวคล้ายกาว และพอแห้งก็จะแข็งคล้ายซีเมนต์ แม่นกจะใช้เวลา ๒-๓ วันแรก เข้าไปนั่งทำรังในโพรงเช่นนี้ โดยมีตัวผู้ช่วยอยู่ข้างนอก ตัวผู้จะช่วยปิดปากโพรงโดยใช้ดินเหนียวมาพอก ใช้หงอนของนกที่แข็งมาก และแบน ลูบไล้ไปมาคล้ายช่างปูนใช้เกรียงละเลงปูน พอพอกปากโพรงเสร็จก็จะเหลือรูเล็กๆ กว้างประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร และยาวราวๆ ๗-๑๐ เซนติเมตร ตอนนี้แม่นกก็ถูกขังอยู่ในโพรงและเริ่มต้นวางไข่ กกไข่โดยมีตัวผู้คอยบินหาอาหารมาป้อนแม่นกในโพรง จนกว่าลูกนกจะออกจากไข่และพร้อมที่จะบินออกไปหากินได้ ในระหว่างที่อยู่ในโพรงไม้นั้น แม่นกจะคาบเอาขี้ของตัวเองและของลูกนกทิ้งออกมานอกรังผ่านรูเล็กๆ เหล่านี้ทุกวันเวลารับอาหารจากตัวผู้ ตัวเมียจะโผล่เฉพาะจะงอยปากออกมารับอาหารเท่านั้น ในระยะนี้ตัวเมียจะอ้วนท้วนมากขึ้นและสกปรกมากขึ้น เมื่อออกจากโพรงไม้ได้ ตัวเมียแทบจะบินไม่ไหวในวันแรกๆ



ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเป็นบ้านของนกหัวขวานมากมายหลายชนิด แกนขนหางที่แข็งแรงและกรงเล็บช่วยพวกมันในการยึดเกาะกิ่งไม้ในแนวตั้ง เท้านกหัวขวานมีนิ้วข้างละ4นิ้วแบบที่เรียกว่า zygodactyl feet โดยนิ้วชี้และนิ้วกลางจะชี้ไปด้านหน้า ส่วนนิ้วโป้งและนิ้วนางหันไปด้านหลัง แต่ก็มีนกหัวขวานบางชนิดที่อุตริมีนิ้วเท้าเพียงข้างละ3นิ้วเท่านั้น ซึ่งในบ้านเรามีนกหัวขวานเพียงแค่4ชนิดที่มีลักษณะเช่นนี้ ชนิดที่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยกันดีที่สุดก็คือนกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common Flameback) 
      นกหัวขวานสามนิ้วหลังทองเป็นนกหัวขวานที่พบแพร่กระจายในป่าหลากหลายประเภทมากที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ไม่ยากตามป่าละเมาะ ชายป่า ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งเกือบทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังพบได้ตามสวนผลไม้ สวนสาธารณะ และป่าชายเลน เป็นนกหัวขวานเพียงไม่กี่ชนิดที่ยังพอพบได้บ้างตามชานเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

ตัวผู้ (Male)








ตัวเมีย (Female)
      เช่นเดียวกับนกหัวขวานอื่นๆอีกหลายชนิด นกหัวขวานสามนิ้วหลังทองมักอยู่รวมกันเป็นคู่หรือครอบครัวเล็กๆ พบหากินรวมฝูงกับนกชนิดอื่นๆที่กินแมลงเป็นอาหารอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นฝูงนกขนาดเล็กหรือขนาดกลาง นอกจากนี้มันยังกินผลไม้เป็นอาหารอีกด้วย 
      นกหัวขวานชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่จดจำได้ง่ายเมื่อพบเห็นอยู่หลายจุด เช่น แถบคาดตาและแถบเคราสีดำบนพื้นลำตัวสีขาว ลายร่างแหที่ด้านใต้ของลำตัว ปีกสีเหลืองทอง กลางหลังเป็นสีแดง ตัวผู้และตัวเมียแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้มีหงอนสีแดง ส่วนตัวเมียมีหงอนสีดำซึ่งประปรายไปด้วยจุดสีขาว 
      นกหัวขวานสามนิ้วหลังทองมีแฝดคนละฝาที่คล้ายคลึงกันมากอย่างนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Greater Flameback) ที่แม้จะมีลักษณะโครงสร้างลำตัวที่แตกต่างกันพอสมควรแต่ก็มีลวดลายและสีสันที่คล้ายคลึงกันมากจนน่าตกใจ โดยนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองมีขนาดใหญ่กว่า แถบคาดตาสีดำหนากว่า ท้ายทอยมีสีขาว ม่านตาสีอ่อน ปากแหลมตรงยาว ต่างจากหัวขวานสามนิ้วหลังทองที่มีปากสั้นเมื่อเทียบกับนกหัวขวานอื่นๆ สาเหตุของการวิวัฒนาการมาให้มีสีสันคล้ายคลึงกันระหว่างนกหัวขวานทั้งสองชนิดยังคงเป็นคำถามที่รอการศึกษาหาคำตอบ มีสมมติฐานว่าอาจเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้นกล่าเหยื่อเกิดความสับสน เพราะทั้งสองชนิดล้วนแต่ชอบหากินตามฝูงนกกะราง (Laughingthrush) มากเป็นพิเศษ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะพบทั้งสองชนิดหากินอยู่ใกล้ๆกัน

ตัวเมีย (Female)

นกสวยงาม

นกฟินซ์เจ็ดสี Lady Gouldian Finch
นกฟินซ์เจ็ดสี Lady Gouldian Finch

นกฟินซ์เจ็ดส (Lady Gouldian Finch) หรือ นกสายรุ้ง (Rainbow Finch) มีถิ่นกำเนิด จากทวีปออสเตรเลีย  ทางตอน เหนือของทวีป  เป็นนกพื้นเมืองที่หากินในทุ่งหญ้าซาวันน่า   สภาพอากาศ ร้อนในตอนกลางวัน  อุณหภูมิ ประมาณ 35-40 องศาเซนเซียส      อยู่รวมฝูงเป็นสังคมนก  ถ้าเทียบกับ เมืองไทย  อยู่ใน วงศ์เดียวกับ นกกระจาบ  เช่น นกกระติ๊ดขี้หมู  ซึ่งเห็นได้ง่าย ๆ แม้แต่ในเมืองกรุง  เขาจะบินกันมาเป็นฝูง เกาะ ยอดหญ้า หาเมล็ดหญ้า กิน อย่างเพลิดเพลิน นกฟินซ์ชนิดเดิมมีลำตัว หลัง ปีก เป็นสีเขียว ต่อมาได้ถูกนำไปพัฒนาสายพันธุ์ จนได้นกที่มีความแตกต่างไปจากธรรมชาติ เช่น ลำตัว จะมีสีเขียวอ่อน เหลืองอมเขียว เหลือง ฟ้า ฟ้าอ่อน เงิน และขาว ลำตัวแต่ละสี ก็สามารถ แยกย่อยได้อีก ตามสีของใบหน้าหรือหัวนก ซึ่งมีอยู่ 3 สี เช่นเดียวกันคือ หัวดำ หรือหน้าดำ,หัวแดง หรือหน้าแดง และหัวเหลือง หรือหัวส้ม ให้อาหารเป็นเมล็ดข้าวชนิดต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก เช่น เมล็ดข้าวผสมของนกคีรีบูน ข้าวฟ่าง ดอกหญ้าชนิดต่าง

นกเลิฟเบิร์ด Lovebirdsนกเลิฟเบิร์ด Lovebirds

นกเลิฟเบิร์ด (Lovebirds) เป็นนกที่มีสายพันธุ์เดียวกับนกแก้ว (Parrot) จึงเรียกว่าเป็น Little Parrot และ ด้วยเอกลักษณ์ ของนกชนิดนี้ก็คือ ชอบอยู่เป็นคู่ และจะดูแลกันและกันเป็นอย่างดี จึงได้รับ การเรียกขาน ว่า Lovebirds ในที่สุด เมื่อมีการแพร่ ไปมาก ๆ จึงเกิดการกลายพันธุ์ จากเดิมที่เป็นสายพันธุ์ Parrot ก็มีการเรียกชื่อใหม่ ว่าเป็นสายพันธุ์ Agapornis ต่อมาการเลี้ยงนก Lovebirds มีจุดมุ่งหมายก็เพื่อ ให้ได้ สีสันใหม่ ๆ ที่สวยงามขึ้น และเป็นการพัฒนาสายพันธุ์ รวมทั้งมีการผสมกับ นกสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วย เลิฟเบิร์ด แยกเป็น 9 สายพันธุ์ คือ Peachfaced Lovebird,Masked Lovebird,Fischer Lovebird Blackcheeked Lovebird,Nyasa Livebird,Madagascar Lovebird,Redfaced Lovebird,Abyssinian Lovebird,Swindern's Lovebird อายุโดยเฉลี่ยประมาณ 15 - 20 ปี ประเทศไทยสามารถเพาะพันธ์นกได้ ตลอดทั้งปีเลิฟเบิร์ด แบ่งเป็น 2 ประเภท ไม่มีขอบตา,มีขอบตา อาหารได้แก่ เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ เช่น มิลเลต ข้าวไรน์ ข้าวเปลือกมะเขือ

นกหงส์หยก Zebra Parakeetนกหงส์หยก (Zebr