วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2555

นกหัวขวัญ

นกหัวขวัญ






นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง






นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง

นกหัวขวานเขียวตะโพกแดง : คอลัมน์นกป่าสัปดาห์ละตัว

                 เมื่อไม่นานมานี้สมาชิกชมรมโอเคเนเจอร์ (OK Nature) บางส่วนได้ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแม่เรวา ของอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ อ.แม่วงก์ จ.นครสวรรค์ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่จะต้องจมอยู่ใต้น้ำหากโครงการเขื่อนแม่วงก์ได้รับอนุมัติให้มีการสร้างจริง ป่าในบริเวณดังกล่าวมีสภาพเป็นป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรังในระดับความสูงจากน้ำทะเลไม่มากนัก มีลำห้วยแม่เรวาซึ่งประกอบไปด้วยแก่งหิน และหาดทรายริมน้ำอันเป็นพื้นที่ที่ นกยูง (Green Peafowl) ใช้ในการเกี้ยวพาราสี พื้นที่นี้นับเป็นถิ่นอาศัยที่มีความสำคัญของสัตว์หายากหลายชนิด

การระวังรักษาอนามัยของลูกนก 

           เมื่อลูกนกแตกออกมาจากไข่ พ่อนกและแม่นกต่างก็ช่วยกันหาอาหารมาป้อนลูกอ่อนตามกฎของธรรมชาติ เมื่อลูกนกกินอาหารเข้าไปก็ย่อมมีการถ่ายของเสียออกมา ของเสียของลูกนกนั้นแปลกและแตกต่างจากพ่อแม่นก คือ มันถ่ายออกมาเป็นถุงขาวๆ แข็งแต่นิ่มเพื่อเป็นการรักษาความสะอาดของรัง พ่อนก แม่นกจะคาบถุงนี้ออกมาจากก้นของลูกนกเลยทีเดียว แล้วนำออกไปทิ้งให้ห่างจากรัง แต่ก็มีบางครั้งที่พ่อนกและแม่นกจะกินถุงถ่ายเหล่านั้น ลูกนกจะถ่ายมากน้อย ขึ้นกับปริมาณอาหารที่ถูกป้อน ที่น่าสังเกตก็คือ เมื่อลูกนกโตมากขึ้น พ่อแม่ก็จะคาบถุงถ่ายไปทิ้งน้อยลงไปตามลำดับ มีนกหลายชนิด เช่น นกการางหัวขวาน (hoopoes) นกหัวขวาน(wood pecker) ต่างๆ ซึ่งขุดรูทำรัง เป็นต้น มิได้คาบถุงถ่ายของลูกนกไปทิ้งนอกรัง คงปล่อยให้เลอะเทอะส่งกลิ่นเหม็น
           ตามปกติ ประชาชนในแถบบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเข้าใจกันว่า นกเงือกซึ่งทำรัง วางไข่ กกไข่ ในโพรงไม้นั้น ตัวผู้เป็นตัวกกไข่ แต่แท้ที่จริงแล้ว ได้มีนักธรรมชาติวิทยาหลายคนสนใจกับข้อมูลอันนี้ ได้ทำการสำรวจอย่างละเอียด และได้พบความจริงว่า ความเชื่อมั่นของประชาชนในถิ่นนี้ผิดไปอย่างสิ้นเชิง ความจริงแล้ว นักธรรมชาติวิทยาได้พบว่า นกเงือกตัวเมียเท่านั้นที่เข้าทำรัง วางไข่ กกไข่ โดยตัวเมียจะเข้าไปนั่งอยู่ในโพรงไม้ โดยการเจาะโพรงไม้เป็นรูก่อนวางไข่ ๒-๓ วัน แล้วปิดปากโพรงด้วยขี้ของมันเอง ผสมด้วยขุยไม้ที่นกพยายามขุดโดยใช้ปากและเท้า ออกมาจากต้นไม้ขี้ของนกชนิดนี้จะเหนียวคล้ายกาว และพอแห้งก็จะแข็งคล้ายซีเมนต์ แม่นกจะใช้เวลา ๒-๓ วันแรก เข้าไปนั่งทำรังในโพรงเช่นนี้ โดยมีตัวผู้ช่วยอยู่ข้างนอก ตัวผู้จะช่วยปิดปากโพรงโดยใช้ดินเหนียวมาพอก ใช้หงอนของนกที่แข็งมาก และแบน ลูบไล้ไปมาคล้ายช่างปูนใช้เกรียงละเลงปูน พอพอกปากโพรงเสร็จก็จะเหลือรูเล็กๆ กว้างประมาณ ๒-๓ เซนติเมตร และยาวราวๆ ๗-๑๐ เซนติเมตร ตอนนี้แม่นกก็ถูกขังอยู่ในโพรงและเริ่มต้นวางไข่ กกไข่โดยมีตัวผู้คอยบินหาอาหารมาป้อนแม่นกในโพรง จนกว่าลูกนกจะออกจากไข่และพร้อมที่จะบินออกไปหากินได้ ในระหว่างที่อยู่ในโพรงไม้นั้น แม่นกจะคาบเอาขี้ของตัวเองและของลูกนกทิ้งออกมานอกรังผ่านรูเล็กๆ เหล่านี้ทุกวันเวลารับอาหารจากตัวผู้ ตัวเมียจะโผล่เฉพาะจะงอยปากออกมารับอาหารเท่านั้น ในระยะนี้ตัวเมียจะอ้วนท้วนมากขึ้นและสกปรกมากขึ้น เมื่อออกจากโพรงไม้ได้ ตัวเมียแทบจะบินไม่ไหวในวันแรกๆ



ป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศไทยเป็นบ้านของนกหัวขวานมากมายหลายชนิด แกนขนหางที่แข็งแรงและกรงเล็บช่วยพวกมันในการยึดเกาะกิ่งไม้ในแนวตั้ง เท้านกหัวขวานมีนิ้วข้างละ4นิ้วแบบที่เรียกว่า zygodactyl feet โดยนิ้วชี้และนิ้วกลางจะชี้ไปด้านหน้า ส่วนนิ้วโป้งและนิ้วนางหันไปด้านหลัง แต่ก็มีนกหัวขวานบางชนิดที่อุตริมีนิ้วเท้าเพียงข้างละ3นิ้วเท่านั้น ซึ่งในบ้านเรามีนกหัวขวานเพียงแค่4ชนิดที่มีลักษณะเช่นนี้ ชนิดที่น่าจะเป็นที่คุ้นเคยกันดีที่สุดก็คือนกหัวขวานสามนิ้วหลังทอง (Common Flameback) 
      นกหัวขวานสามนิ้วหลังทองเป็นนกหัวขวานที่พบแพร่กระจายในป่าหลากหลายประเภทมากที่สุดชนิดหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นนกประจำถิ่นที่พบได้ไม่ยากตามป่าละเมาะ ชายป่า ป่าเต็งรัง และป่าดิบแล้งเกือบทั่วประเทศ นอกจากนี้ยังพบได้ตามสวนผลไม้ สวนสาธารณะ และป่าชายเลน เป็นนกหัวขวานเพียงไม่กี่ชนิดที่ยังพอพบได้บ้างตามชานเมืองในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 

ตัวผู้ (Male)








ตัวเมีย (Female)
      เช่นเดียวกับนกหัวขวานอื่นๆอีกหลายชนิด นกหัวขวานสามนิ้วหลังทองมักอยู่รวมกันเป็นคู่หรือครอบครัวเล็กๆ พบหากินรวมฝูงกับนกชนิดอื่นๆที่กินแมลงเป็นอาหารอยู่บ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นฝูงนกขนาดเล็กหรือขนาดกลาง นอกจากนี้มันยังกินผลไม้เป็นอาหารอีกด้วย 
      นกหัวขวานชนิดนี้มีลักษณะเด่นที่จดจำได้ง่ายเมื่อพบเห็นอยู่หลายจุด เช่น แถบคาดตาและแถบเคราสีดำบนพื้นลำตัวสีขาว ลายร่างแหที่ด้านใต้ของลำตัว ปีกสีเหลืองทอง กลางหลังเป็นสีแดง ตัวผู้และตัวเมียแตกต่างกันตรงที่ตัวผู้มีหงอนสีแดง ส่วนตัวเมียมีหงอนสีดำซึ่งประปรายไปด้วยจุดสีขาว 
      นกหัวขวานสามนิ้วหลังทองมีแฝดคนละฝาที่คล้ายคลึงกันมากอย่างนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทอง (Greater Flameback) ที่แม้จะมีลักษณะโครงสร้างลำตัวที่แตกต่างกันพอสมควรแต่ก็มีลวดลายและสีสันที่คล้ายคลึงกันมากจนน่าตกใจ โดยนกหัวขวานสี่นิ้วหลังทองมีขนาดใหญ่กว่า แถบคาดตาสีดำหนากว่า ท้ายทอยมีสีขาว ม่านตาสีอ่อน ปากแหลมตรงยาว ต่างจากหัวขวานสามนิ้วหลังทองที่มีปากสั้นเมื่อเทียบกับนกหัวขวานอื่นๆ สาเหตุของการวิวัฒนาการมาให้มีสีสันคล้ายคลึงกันระหว่างนกหัวขวานทั้งสองชนิดยังคงเป็นคำถามที่รอการศึกษาหาคำตอบ มีสมมติฐานว่าอาจเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้นกล่าเหยื่อเกิดความสับสน เพราะทั้งสองชนิดล้วนแต่ชอบหากินตามฝูงนกกะราง (Laughingthrush) มากเป็นพิเศษ จึงเป็นเรื่องปกติที่จะพบทั้งสองชนิดหากินอยู่ใกล้ๆกัน

ตัวเมีย (Female)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น